ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน พิธีกรดำเนินรายการข่าว Morning Wealth รายการเศรษฐกิจธุรกิจ การลงทุน ของ The Standard ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เข้าใจคนจีน เข้าใจตลาดจีน” แก่ผู้อบรมหลักสูตร China Business Leader หรือ CBL ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.วิทย์ เริ่มต้นเริ่มที่การฉายภาพการเดินทางด้านเศรษฐกิจของประเทศจีน ซึ่งมีประเทศไทยเป็นตัวละครร่วมฉากในบทบาทสำคัญด้วยเสมอ นับจากช่วงเปิดประเทศกระทั่งก้าวขึ้นเป็นอันดับ 2 ในการครองน้ำหนักทางเศรษฐกิจของทั้งโลก ซึ่งมากถึง 80% (20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) ของขนาดเศรษฐกิจที่สหรัฐอเมริกาถือไว้ในฐานะแชมป์ อีกทั้งยังเป็นที่คาดการณ์โดยทั่วไป ว่าจีนจะแซงสหรัฐอเมริกาได้ภายใน 10 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม ในฐานะประเทศผู้ผลิต ประเทศจีนเองได้ขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกมาตั้งแต่ปี 2010 หากประกอบข้อมูลเหล่านี้เข้ากับความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งระดับรัฐและปัจเจกที่มีมายาวนานระหว่าง จีน-ไทย ก็ชัดเจนว่าน่านฟ้าทางธุรกิจระหว่างสองประเทศ รุ่งเรืองและเปิดกว้างเพียงใดในปัจจุบันและอนาคต แต่หากจะวัดกันในฐานะประเทศผู้ผลิต ประเทศจีนเองได้ขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า น่านฟ้าทางธุรกิจระหว่างจีนและไทย รุ่งเรืองและเปิดกว้างเพียงใดในปัจจุบันและอนาคต
“สมรภูมิไหนที่เราไม่ถนัด ไม่ต้องไปรบ
อย่าแข่งในสนามที่เราแข่งไม่ได้ เล่นในเกมส์ของตัวเอง”
ดร.วิทย์ ชี้ให้เห็นเรื่องธรรมดาแต่สำคัญยิ่งที่ว่า โดยพื้นฐานคนจีนนิยมและชื่อชอบวัฒนธรรมไทยและสินค้า ‘ไทยๆ’ อยู่แล้ว ด้วยรสนิยมที่อาจสังเกตเห็นได้ชัดของคนจีนที่มักเป็น ‘Maximalist’ ชอบความแฟนตาซี ซึ่งสอดคล้องกับสินค้าและวัฒนธรรมไทยที่มีลักษณะผิดธรรมดา (Exotic)
นอกจากนี้ “คุณค่าทางอารมณ์” (Emotional value) คือโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจและเป็นสิ่งที่คนจีนต้องการ เนื่องจากความเป็นเจ้าแห่งประเทศผู้ผลิต อุตสาหกรรมของจีนจึงพัฒนาบนพื้นฐานที่เน้นอรรถประโยชน์ (functional) และแข่งขันด้วยราคาที่ต้องถูกกว่าใครมาโดยตลอด แต่คนจีนในวันนี้ กำลังมีค่านิยมที่รุ่มรวยขึ้นเรื่อยๆ และโหยหาสิ่งที่เขาไม่มี ทำให้สินค้าระดับ luxury หลายแบรนด์บนโลก ร่ำรวยขึ้นเพราะขายคนจีนได้มากในปัจจุบัน ที่สำคัญคือ “เล่นในเกมที่เขาไม่เล่น” อย่าคิดแข่งขันด้วยโมเดลธุรกิจที่คนจีนถนัด เพราะยากยิ่งที่จะสู้!
“เมื่อท่านต้องคุยกันคนชาติไหน ถ้าท่านแสดงออกว่าท่านเข้าใจในประเทศนั้น แม้ในระดับหนึ่ง ท่านก็ได้แต้มต่อแล้ว”
คำกล่าวที่เรียบง่ายแต่น่าจดจำนี้ ถูกเล่าเสริมด้วยเกร็ดประสบการณ์ที่ ดร.วิทย์ ได้เจอมาเองกับตัว กล่าวโดยสรุปได้ว่า ‘ชาวจีน’ และ ‘ความเป็นจีน’ มีลักษณะเลื่อนไหลเป็นพิเศษ ซึ่งแตกต่างกันไปตามถิ่นกำเนิด ด้วยเหตุนี้คนจีนจึงให้ความสำคัญกับ ‘ที่มา’ ของบุคคล แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับชาวตะวันตก ที่มักจะไม่สนต้นทุนหรือรากเหง้าของผู้ร่วมธุรกิจ โดยหากมองด้านกลับ จะเข้าใจได้ว่าการค้าขายกับคนจีนควรเริ่มต้นด้วยการเคารพและให้ความสำคัญกับรากเหง้าของเขา
ยิ่งไปกว่านั้น คนไทย ซึ่งมีภูมิความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเทศจีนมากมาย แต่มักจะตกตม้าตายเพราะคุยกับคนจีนไม่รู้เรื่อง เพียงเพราะคนไทยใช้คำจีนทับเสียงจากสำเนียงที่ไม่ใช่จีนกลาง.. เรียกว่า ต่อให้อ่าน 3 ก๊ก มากี่รอบเพื่อไปคุยกับคนจีนสักคน ก็อาจเข้าใจไม่ตรงกันเลยแม้แต่ชื่อตัวละคร
“ถ้ามืดแปดด้าน ก็หาด้านที่เก้า ไม่มีคำว่าตัน ไม่มองปัญหาว่าเป็นปัญหา”
ท้ายที่สุด ดร.วิทย์ ชี้ว่าคนจีนนิยมความเร็ว คิดด้วยเวลาอันสั้นแล้วทำทันที ตามคติ “speed overcome everything” หรือพูดง่ายๆ ว่า “คนช้าไม่มีที่ยืน” หากผิดพลาดก็จะไม่เสียเวลาอีก และหากปัญหาเกิดขึ้นจนมืดแปดด้าน คนจีนก็จะพยายามหา “ด้านที่เก้า” จนได้ นี่อาจเป็นทัศนคติที่ทรงพลังที่สุดสำหรับนักธุรกิจ ที่ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ส่งถึง CBL รุ่น 1 ทุกท่าน ไม่ว่าจะแข่งขันในสนามไหน หรือเกมส์ใด