Day: August 16, 2024

“มีเรื่องเล่า-เข้าใจลูกค้า-ค้นหาพาร์ทเนอร์ที่ใช่” : 3 ปัจจัยสู่ความสำเร็จในตลาดจีน

  คุณกันต์ กุลปิยะวาจา ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดประจำประเทศไทยและตลาดต่างประเทศ บริษัท ชบา บางกอก จำกัด, ผู้บริหาร Gen ใหม่ ของ “CHABAA” น้ำผลไม้แท้ 100% พรีเมียมสัญชาติไทยที่จำหน่ายในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้อบรมหลักสูตร China Business Leader หรือ CBL รุ่น 1 แล้ว คุณกันต์ยังให้เกียรติมาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “กลยุทธ์ความสำเร็จการบุกตลาดจีน” แก่ผู้อบรมหลักสูตร CBL รุ่นที่ 1 ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงงาน บริษัท ชบาบางกอก จำกัด สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี   คุณกันต์ ได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาและการก่อตั้งแบรนด์ชบา ที่แม้จะพึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2543 แต่ก็เต็มไปด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มามากกว่า 20 ปี  ปัจจุบันน้ำผลไม้ชบามีจำหน่ายกว่า “มีเรื่องเล่า-เข้าใจลูกค้า-ค้นหาพาร์ทเนอร์ที่ใช่” : 3 ปัจจัยสู่ความสำเร็จในตลาดจีน

รู้ตลาด รู้กฏหมาย ขายยังไงก็ขายออก

  ดร.เมืองภูมิ หาญสิริเพชร หรือ “หานปิง” ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้า การลงทุน กฎหมายไทย-จีน และยังเป็นนักแสดง พิธีกรในสถานีโทรทัศน์เจียงซู และ Influencer ของอาลีบาบา ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “รู้ตลาด รู้กฏหมาย ขายยังไงก็ขายออก” แก่ผู้อบรมหลักสูตร China Business Leader หรือ CBL รุ่นที่ 1 ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงงาน บริษัท ชบาบางกอก จำกัด สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี   ในภาพรวม ดร.เมืองภูมิ ชี้ให้เห็นว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการจะนำสินค้าไปบุกตลาดจีน คือ การรู้ข้อกฎหมายและข้อกำหนดที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ข้อกฎหมายเรื่องการส่งออก-นำเข้าสินค้า ข้อกำหนดเรื่องสารประกอบต้องห้ามที่ห้ามนำเข้า การจดลิขสิทธิ์ และการจดฉลากผลิตภัณฑ์ (ดร.เมืองภูมิเรียกว่า “ซางเปียว”) และการรู้เท่าทันบริษัทตัวแทนที่นำเข้า-ส่งออกสินค้า เป็นต้น     รู้ตลาด รู้กฏหมาย ขายยังไงก็ขายออก

”ขี่ช้างจับมังกร“ สูตรลับดักนักท่องเที่ยวจีน

  ดร.ปณิชา ประทีปะวณิช ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ Social Media China, CMO บริษัท เค อินโนเวชั่น จำกัด และบริษัทในเครือ ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษแก่ผู้อบรมหลักสูตร China Business Leader หรือ CBL รุ่นที่ 1 ในหัวข้อ “ขี่ช้างจับมังกร” เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2567 ณ Phenix Food Wholesale Hub   จากประสบการณ์ด้านการตลาด ดร.ปณิชา มีความเห็นว่า ประเทศไทยได้คะแนนนิยมจากคนจีนสูง และเหตุที่ไทยเป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวจีน ส่วนหนึ่งก็เพราะเป็นประเทศที่สามารถผลิต content ออนไลน์ได้มากมาย ตัวอย่างที่ชัดที่สุดคือไทยเป็นประเทศแห่ง Street Food ที่ผู้มาเยือนสามารถทานอาหารได้ไม่ซ้ำกันเลยสักมื้อใน 7 วัน และอีกแง่มุมที่เราอาจนึกไม่ถึง คือเป็นประเทศที่ “มาแต่ตัวได้” เพราะของทุกอย่างสามารถหาซื้อได้ในมินิมาร์ท   นักท่องเที่ยวชอบช็อปปิ้งสินค้าไทยทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค โดยสถานที่ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่คนจีน ได้แก่ ”ขี่ช้างจับมังกร“ สูตรลับดักนักท่องเที่ยวจีน

9 คาถา ธุรกิจปัง : ถอดรหัสสินค้าแบรนด์ดังของจีน

  “เมื่อเราพูดถึงจีน สิ่งที่เราคิดคือ.. ‘ก๊อปเก่ง โกงเก่ง’ แต่อย่าลืมว่า เรากำลังพูดถึงประเทศที่ทำลายประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลกหลายมิติ ด้วยเวลาเพียง 45 ปี”   ก่อนจะเข้าเนื้อหาของ ‘คาถาธุรกิจ’ อย่างเจาะจง ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร อดีตทูตพาณิชย์ รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน ได้เริ่มปูพื้นให้ผู้เข้าอบรมเกิดความเข้าใจต่อประเทศจีน ซึ่งในเชิงภูมิศาสตร์มีขนาดใหญ่กว่าเรา 18 เท่า ประชากรเยอะกว่าเรา 20 เท่า และมีความซับซ้อนของกลุ่มคนมากกว่า 56 กลุ่ม พร้อมชี้ให้เห็นว่าจีนเป็นประเทศมีลักษณะ “การเมืองนำเศรษฐกิจ” ซึ่งอาจเป็นอีกปัจจัยที่ประกอบสร้างอุปนิสัยเฉพาะตัว หรือ ‘DNA คนจีน’ ขึ้นมา จนคนไทยเราใช้พูดถึงคนจีนกันอย่างสนุกปาก   คำว่า “การเมืองนำเศรษฐกิจ” ของ ดร.ไพจิตร หมายถึงลักษณะของรัฐ “สังคมนิยมแบบเฉพาะจีน” (Socialism with Chinese Characteristics – นิยามโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ก่อนยุคสี จิ้นผิง, ผู้เรียบเรียง) หลังยุคประธานเหมาฯ ที่รัฐบาลจีนต้องการให้ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจนโดยเร็ว แม้อาจเรียกตามหลักการได้ว่าเป็น 9 คาถา ธุรกิจปัง : ถอดรหัสสินค้าแบรนด์ดังของจีน

“รู้เขา-รู้เรา รู้เหนือรู้ใต้” ค้าขายกับชาวจีน ต้องเข้าใจ ‘คนจีน’

  ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน พิธีกรดำเนินรายการข่าว Morning Wealth รายการเศรษฐกิจธุรกิจ การลงทุน ของ The Standard ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เข้าใจคนจีน เข้าใจตลาดจีน” แก่ผู้อบรมหลักสูตร China Business Leader หรือ CBL ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    ดร.วิทย์ เริ่มต้นเริ่มที่การฉายภาพการเดินทางด้านเศรษฐกิจของประเทศจีน ซึ่งมีประเทศไทยเป็นตัวละครร่วมฉากในบทบาทสำคัญด้วยเสมอ นับจากช่วงเปิดประเทศกระทั่งก้าวขึ้นเป็นอันดับ 2 ในการครองน้ำหนักทางเศรษฐกิจของทั้งโลก ซึ่งมากถึง  80% (20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) ของขนาดเศรษฐกิจที่สหรัฐอเมริกาถือไว้ในฐานะแชมป์ อีกทั้งยังเป็นที่คาดการณ์โดยทั่วไป ว่าจีนจะแซงสหรัฐอเมริกาได้ภายใน 10 ปีข้างหน้า    อย่างไรก็ตาม ในฐานะประเทศผู้ผลิต ประเทศจีนเองได้ขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกมาตั้งแต่ปี 2010 หากประกอบข้อมูลเหล่านี้เข้ากับความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งระดับรัฐและปัจเจกที่มีมายาวนานระหว่าง จีน-ไทย ก็ชัดเจนว่าน่านฟ้าทางธุรกิจระหว่างสองประเทศ รุ่งเรืองและเปิดกว้างเพียงใดในปัจจุบันและอนาคต  แต่หากจะวัดกันในฐานะประเทศผู้ผลิต “รู้เขา-รู้เรา รู้เหนือรู้ใต้” ค้าขายกับชาวจีน ต้องเข้าใจ ‘คนจีน’

‘Silk Road ทางอากาศ’ มองไปข้างหน้า..เพื่อแสวงหาความยั่งยืนด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

  ท่านวิบูลย์ คูสกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “แง่คิดความสัมพันธ์ไทย-จีน จากมุมมองของอดีตทูตไทย” แก่ผู้อบรมหลักสูตร China Business Leader หรือ CBL ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    โดยท่านวิบูลย์เริ่มต้นด้วยการชี้ให้เห็น ถึงมิติทางยุทธศาสตร์ ความมั่นคงทางการเมือง และนโยบายทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นมิติที่อิงอยู่กับผลประโยชน์ร่วมบางประการในระดับรัฐ แม้ว่าสิ่งเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์ของภูมิรัฐศาสตร์ ยุคสมัย หรือความจำเป็นตามเหตุผลและความมั่นคง ทว่าจีน-ไทยยังคงมี “สายสัมพันธ์ฉันพี่น้อง” อันเป็นต้นทุนเดิมที่สองประเทศดำเนินควบคู่มาด้วยเสมอในระดับปัจเจก โดยทั้ง 2 มิติดังกล่าวได้ส่งเสริมกันจนเกิดเป็นความเกื้อกูลทางเศรษฐกิจของเหล่านักธุรกิจทั้งจีนและไทย   ท่านวิบูลย์ยังมองว่า ทั้งหมดทั้งปวงที่กล่าวมาได้พาให้ความร่วมมือของจีน-ไทยดำเนินมาถึงจุดที่น่าพอใจ และถึงแก่เวลาอันสมควรที่ทั้งสองประเทศจะมองหาลู่ทางด้านอื่นเพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นปัจจัยเชื่อมโยงผลประโยชน์ร่วมกันให้มีมากและยั่งยืนยิ่งขึ้น      จุดแข็งอย่างหนึ่งของเมืองไทยที่ควรถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอ อันเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากมิติความมั่นคงและมิติทางการเมือง คือ มิติในด้านของ ศิลปะวัฒนธรรม อาหาร ผลไม้ มวยไทย หรือภาพยนตร์ เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอย่างจริงจังและสร้างผลประโยชน์ร่วมมือกับจีนอย่างยั่งยืน  โดยทุกคนสามารถนำเสนออัตลักษณ์ของตนผ่านสื่อสังคมและช่องทางการสื่อสารที่ทะลุถึงกันและกันได้   ‘Silk Road ทางอากาศ’ มองไปข้างหน้า..เพื่อแสวงหาความยั่งยืนด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ